บุหรี่ไฟฟ้า, พอตจมูก

ผลสำรวจเผย บุหรี่ไฟฟ้า ทางเลือกใหม่ในการช่วยให้เลิกบุหรี่

ผลสำรวจเผย บุหรี่ไฟฟ้า ทางเลือกใหม่ในการช่วยให้เลิกบุหรี่

บุหรี่ไฟฟ้ากลายเป็นที่พูดถึงมากขึ้นในกลุ่มคนที่ต้องการเลิกบุหรี่ แม้จะมีผู้ใช้งานนิยมเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ค่อยมีการวิจัยแบบทางการมากนัก อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่จะมาเสนอนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบุหรี่ไฟฟ้า ว่าใช้ช่วยเลิกบุหรี่ได้หรือไม่ โดยใช้วิธีการสอบถามผู้สูบบุหรี่ที่หันมาลองใช้บุหรี่ไฟฟ้า

ในปี 2010 นักวิจัยได้ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ผู้ที่ซื้อบุหรี่ไฟฟ้า ยี่ห้อหนึ่งเป็นครั้งแรกในช่วงระยะเวลาสองสัปดาห์ การสำรวจออนไลน์นี้ มุ่งเน้นสำรวจรูปแบบการใช้บุหรี่ไฟฟ้า และประสิทธิภาพในการช่วยเลิกบุหรี่ การสอบถามมีผู้เข้าร่วมจำนวน 222 คน คิดเป็น อัตราการตอบแบบสอบถาม 4.5% ตัวชี้วัดหลัก คือ จุดเริ่มของการเลิกสูบบุหรี่ หลังจากซื้อบุหรี่ไฟฟ้าครั้งแรกเป็นเวลาหกเดือน

ผลลัพธ์ที่สำคัญ

  • อัตราการเลิกสูบ: การศึกษาพบว่า 31.0% ของผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเลิกสูบบุหรี่ได้ ในช่วงหกเดือน อัตรานี้ถือว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับอัตราเฉลี่ย 17.8% ที่สำรวจได้จากผู้ใช้วิธีบำบัดทดแทนนิโคตินแบบดั้งเดิม (NRT)
  • ลดจำนวนการสูบ: 66.8% ของผู้เข้าร่วมรายงานว่า ลดจำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวันลง หลังจากที่เริ่มใช้บุหรี่ไฟฟ้า
  • ลดนิโคติน: เกือบครึ่งหนึ่ง (48.8%) ของผู้เข้าร่วมรายงานว่า ลดการบริโภคนิโคตินโดยรวม
  • เลิกสูบโดยเด็ดขาด: มีผู้ที่สามารถเลิกสูบได้ในช่วงหกดือนจำนวน 34.3% ที่ไม่ได้ใช้ทั้งบุหรี่ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ที่มีนิโคตินอื่นๆเลย

บทสรุป

ผลลัพธ์ที่ได้ แสดงให้เห็นว่า บุหรี่ไฟฟ้าอาจเป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพที่ช่วยให้การเลิกบุหรี่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยย้ำว่า ยังต้องมีงานวิจัยเพิ่มเติมที่เข้มงวดกว่านี้ ก่อนจะสรุปผลได้สมบูรณ์

ทำความรู้จัก บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า จัดเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยพลังงานแบตเตอร์รี่ ส่งผ่านนิโคตินให้ผู้สูบโดยไม่จำเป็นต้องเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป บุหรี่ไฟฟ้าได้รับความสนใจ และเป็นอีกทางเลือกของการเลิกบุหรี่ เพราะสามารถตอบสนองในพฤติกรรมเสพติดบุหรี่ คือการได้จับบุหรี่ หรือได้พ่น รวมถึงนำเอานิโคตินเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย

ข้อแตกต่างจากวิธีการบัดทดแทนนิโคตินแบบดั้งเดิม (NRT)

วิธีการแบบดั้งเดิม หรือ NRT มุ่งเน้นแก้ไขในเรื่องเสพติดนิโคติน ขณะที่บุหรี่ไฟฟ้า สามารถเข้าไปทดแทนพฤติกรรมเสพติดได้ อาทิ พฤติกรรมการถือบุหรี่ การหยิบจ่อบุหรี่เข้าปาก นี้อาจเป็นสาเหตุ ที่ทำให้อัตราการเลิกบุหรี่ของการศึกษาครั้งนี้ พบว่า อัตราการเลิกสูงกว่า

ข้อจำกัด และงานวิจัยในอนาคต

งานวิจัยนี้มีข้อจำกัด เพราะอาศัยข้อมูลที่เกิดจากการตอบแบบสอบถามของผู้เข้าร่วม และอัตราการตอบแบบสอบถามอยู่ในอัตราต่ำ ในอนาคตมีความจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาวิจัยให้มากกว่านี้ รวมทั้งหาตัวอย่างกลุ่มใหญ่ขึ้น เพิ่มเติมความหลากหลายในกลุ่ม เพื่อทำความเข้าใจประสิทธิภาพระยะยาว ของบุหรี่ไฟฟ้าในการช่วยเลิกบุหรี่

คำเตือน

แม้การศึกษานี้ได้ผลในเชิงบวก และแสดงให้เห็นถึงว่าบุหรี่ไฟฟ้าสามารถช่วยให้เลิกบุหรี่ได้จริงๆ แต่บุหรี่ไฟฟ้าก็ ไม่เหมาะกับทุกคน ทางที่ดีที่สุดควรเข้ารับคำปรึกษากับแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวางแผนการเลิกบุหรี่อย่างเหมาะสม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *